หัวไฟเบอร์ออฟติก หรือหัวคอนเนคเตอร์ไฟเบอร์ออฟติก (Connector) ทางร้านมีจำหน่ายหลายแบบ ดังนี้
1. แบบ Fast Connector มีให้เลือกหลายชนิด เช่น หัว sc/apc, หัว sc/upc, หัว fc/upc, หัว fc/apc, หัว lc/upc, หัว lc/apc, หัว st/upc หัวฟาสประเภทนี้สามารถใช้ชุดเครื่องมือเข้าหัวไฟเบอร์ออฟติก แบบที่มีแท่นตัดสาย เข้าหัวได้เลยสะดวกรวดเร็ว ตามชื่อ Fast Connector
2. แบบ Zirconia Connector หรือ หัวแบบขัด มีดังนี้ sc/upc, sc/apc หัวประเภทนี้จะเห็นตามสาย Patch Cord, สายสำเร็จรูปที่ออกมาจากโรงงานต่างๆ แต่หัวประเภทนี้จะมีขั้นตอนการเข้าหัวที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนกว่าหัวแบบ Fast Connector ต้องใช้กาวอีพ้อกซี่เป็นตัวช่วยยึดเส้นแก้ว, ต้องแทงแก้วทะลุหัว, ต้องตัดแก้วด้วยปากกาคาบาย, ต้องขัดเส้นแก้วด้วยกระดาษทราย 3 ความละเอียด, ต้องมีเหล็กที่เป็นเบ้ารองรับในการขัดหัว และสุดท้ายควรจะมีกล้องไมโครสโคปเพื่อส่องดูหน้าตัดหลังจากการขัด แต่หัวประเภทนี้จะมีค่าลดทอนสัญญาณหรือค่า Loss ที่น้อยกว่าหัวแบบ Fast Connector
อุปกรณ์ประเภทตัวต่อสาย หัวไฟเบอร์ออฟติกชนิดต่างๆ มีให้เลือกทั้งแบบ SC/UPC (หัวสีฟ้า), SC/APC (สีเขียว) และ หัว FC/UPC (หัวแบบหมุนเกลียว) รวมถึงตัวต่อ ตัวแปลงหัวไฟเบอร์ออฟติกชนิดต่างๆ หัวไฟเบอร์ออฟติกที่เราคุ้นตากันมากที่สุดคือหัวไฟเบอร์ออฟติกแบบ SC (พูดถึงหัวไฟเบอร์ออฟติกแบบ SC ทำไมมันมี 2 สีล่ะ ? ผมจะสรุปสั้นๆให้เข้าใจกันนะครับ หัว SC สีฟ้า หรือ SC/UPC รายละเอียดของหัวจะมีหน้าตัดที่ตรง ส่วนหัว SC สีเขียว หรือ SC/APC จะมีหน้าตัดของหัวที่เอียงประมาณ 8 องศา การเอียงของหัวที่ว่านี้มันจะมีผลกับระบบที่ต้านทางวางมานะครับ คือ ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน แทบทุกค่ายจะมี IPTV มาด้วยในสาย Fiber Optic FTTH, FTTx เส้นเดียวกันเลย เพราะฉะนั้นระบบที่วางมาตั้งแต่ต้นเขาจึงใช้หัวแบบ SC/APC ทั้งหมด เนื่องจากป้องกันปัญหาของสัญญาณภาพ IPTV, Cable Tv กระพริบหรือภาพหายบางส่วน ถ้าใช้หัวแบบ SC/UPC จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นทันที แล้วยังไงต่อ ผมจึงแนะนำแบบนี้เพื่อจะได้เลือกซื้อโดยไม่ผิดพลาด ถ้าระบบที่เราจะติดตั้ง มีหัว SC แบบไหนอยู่ให้เลือกซื้ออุปกรณ์ที่เป็นชนิดเดียวกันไปใช้งาน ถ้าระบบใช้หัว SC/APC สีเขียว ก็ควรจะใช้สีเขียวทั้งหมด ถ้าเป็นหัว SC/UPC สีฟ้า ก็ควรใช้สีฟ้าทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้าเราใช้หัว SC เสียบเข้าอุปกรณ์เพื่อใช้งานเลย ไม่ได้เป็นการต่อ 2 ฝั่ง เข้าใจง่ายๆคือสุดทางแล้วประมาณนั้น ใช้สีไหนก็ได้
เพิ่มเติมอีกนิดครับ เรื่องของตัวต่อกลางสาย จะเห็นได้ว่ามันมี 2 สี เขียว กับ ฟ้า ที่เราดูในคลิปที่ผมอธิบายไปนั้นมันเหมือนกันเป็นแค่รูกลมๆ ที่จริงแล้วเขาทำมาเพื่อให้เรารู้ว่าหัวอีกฝั่งนึงมันเป็นแบบ APC หรือ PC อย่างงานใหญ่ๆจะเห็นว่าต้องใช้ SNAP IN PLATE เป็นตัวยึดตัวต่อแบบนี้เรียงกันเป็นแถวๆเลย 12, 24, 48 แล้วแต่จำนวนคอร์ไฟเบอร์ เรามองไม่เห็นด้านในว่าหัวเป็นชนิดไหน เขาจึงแยกสีตัวต่ออกมาไงครับ พอเข้าใจนะ ผมเห็นบางที่ใช้สายพิกเทลสไปรท์หัวเป็นแบบ APC แต่ใช้ตัวต่อเป็นแบบ PC ถ้าเป็นลูกค้าผม ผมไม่เเนะนำนะ เพราะถ้าคนอื่นไปทำต่อ เขาจะเข้าใจทันทีว่าหัวฝั่งด้านในเป็นแบบ UPC ทีนีล่ะมั่วเลยคับ ฟ้าต่อเขียวไม่สมควร